พื้นฐานการหล่อลื่น Lubrication Basic - S.M. Lubritech

วัตถุประสงค์ของการหล่อลื่น

1. การหล่อลื่นคือ การบรรจุสารหล่อลื่นบางอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของของเหลวหรือเป็นวัตถุ เช่น น้ำมัน จาระบี หรือ กราไฟท์แทรกเข้าไประหว่างผิวหน้าที่สัมผัสเพื่อลดความฝืดและการสึกหรอ แม้ว่าผิวจะมองดูเรียบลื่นจนเป็นมัน ความจริงยังต้องมีส่วนที่ยื่นออก หรือ เป็นขอบเป็มหลุมอยู่ทั่วผิว ผิวขรุขระเช่นนี้ จะมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศ ดังแสดงในรูปที่ 1 (a) แสดงพื้นผิวที่เรียบอย่างเห็นได้ชัด และ (b) แสดงพื้นผิวเดียวกันนั้นขยายอย่างมาก

รูปที่ 1

ดังนั้นเมื่อวางให้ผิวทั้งสองสัมผัสกัน แล้วให้ตัวหนึ่งตัวใดหรือทั้งสองตัวเคลื่อนที่เพื่อให้เกิดการไถลเสียดสีกัน ขอบมุมเล็ก ๆ ของผิวสัมผัสก็จะขบกัน หรือตรงล็อกกัน ทำให้ส่วนที่นูนขึ้นสึกหรอออกไป ซึ่งเป็นลักษณะของการขัดผิวโลหะ และความต้านทานที่เกิดขึ้นในลักษณะการขัดผิวนี้ เรียกว่า ความฝืด

2. การเคลื่อนที่ติดๆ ขัดๆ จากการที่ผิวไม่เรียบเช่นนี้ จะเกิดแรงด้านการเคลื่อนที่และต้องใช้แรงมากในการที่จะเริ่มต้นการเคลื่อน เมื่อเติมสารหล่อลื่นเข้าไประหว่างผิวสัมผัส มันจะเข้าไปอยู่ในหลุมเล็กๆ และสร้างเป็นฟิล์มบางๆ หรือเป็นผิวเคลือบโลหะอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้โลหะสัมผัสโดยตรงนอกจากจุดที่นูนสูงขึ้นมามากๆ เท่านั้น ผลที่ได้คือการสึกหรอต่ำ เพราะขอบมุมต่างๆ ถูกเฉือนไปน้อย และผลที่ตามมาคือ มีความฝืดน้อย

ในรูปที่ 1 (ด้านบน) เทียบได้กับแบริ่งผิว ที่ทำงานเช่นเดียวกับพวกสลักกลอนหรือลูกสูบ ที่เคลื่อนที่ขึ้นลงในกระบอกสูบ ลักษณะการทำงานอย่างเดียวกันนี้แสดงในรูปที่ 2 (a) และ (b). เมื่อบรรจุสารหล่อลื่นเข้าระหว่างผิวสัมผัสของโลหะ 2 ชิ้นของแบริ่งผิวราบ หรือแบริ่งวงกลม ดังแสดงในรูปที่ 3 (a) และ (b), ตามลำดับ ของเหลวจะเปลี่ยนความฝืดจากแบบ dry rubbing friction เป็น fluid friction ซึ่งจำนวนความฝืดมีน้อยกว่า

รูปที่ 2  และรูปที่ 3

นอกจากนั้น การลดความฝืดให้ได้ผลมากขึ้น สารหล่อลื่นจะต้องมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การนำความร้อนออกไป ดังนั้นส่วนที่เคลื่อนที่และแบริ่งก็จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิทำงานอันปลอดภัย ในเครื่องเผ่าไหม้ภายในทั่วๆ ไป น้ำมันหล่อลื่นจะต้องป้องกันการรั่วของเชื้อเพลิงไม่ให้ผ่านลูกสูบหรือแหวนลูกสูบ การรั่วของเชื้อเพลิงผ่านแหวนลูกสูบเข้าไปในห้องเพลาข้อเหวี่ยง เราเรียกว่า blow by

3. ความฝืด ในเครื่องยนต์หรือกลไกอื่นๆ ที่ชิ้นส่วนหนึ่งเคลื่อนที่ไปบนอีกชิ้นส่วนหนึ่งนั้น ความต้านทานต่อการเคลื่อนที่จะเกิดเป็นความฝืดขึ้นในส่วนที่เสียดสีกัน จำเป็นต้องใช้กำลังงานเพื่อเอาชนะความฝืดซึ่งเป็นการสูญเสียกำลังโดยตรง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นจะต้องการสูญเสียจากความฝืดให้ต่ำที่สุด และโดยการเติมสารหล่อลื่นเข้าระหว่างผิวสัมผัส ก็จะลดความฝืดลงได้มาก แม้ว่าจะไม่สามารถทำลายไปได้ทั้งหมด ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการหล่อลื่นคือ การหาสารหล่อลื่นที่จะจำกัดการสูญเสียเนื่องจากความฝืดให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องระลึกถึงความจริงที่ว่า สารหล่อลื่นยังมีหน้าที่อื่นอีก นอกเหนือจากการทำลายความฝืด การเลือกสารหล่อลื่นเป็นภาระจำยอม ขึ้นอยู่กับสภาพที่มันใช้ได้

4. ความต้องการสารหล่อลื่น การหล่อลื่นอย่างถูกต้องคือ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำงานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรเครื่องมือที่เป็นกลไกเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำงานโดยขาดสารหล่อลื่นไม่ได้ และจะมีอายุการใช้ยาวนานไม่ได้ ถ้าการหล่อลื่นไม่ดีพอ คุณสมบัติที่ดีและเป็นที่ต้องการคือ จับผิวได้ดีเพื่อป้องกันการสัมผัสกันโดยตรงของโลหะภายใต้แรงดันและอุณหภูมิสูง จับผิวได้ด้วยความหนืดต่ำที่สุด ทนอุณหภูมิสูงได้โดยไม่เสื่อม ยังเป็นของเหลวอยู่ได้ ที่อุณหภูมิต่ำ มีจุดวาบไฟสูง ไม่เกิดการออกซิเดชั่น ไม่เกิดการสึกกร่อนกับผิวโลหะ สามารถป้องกันการกัดกร่อนของผิวโลหะและสามารถลดความฝืดได้ต่ำสุด

5. ถ้าขาดการหล่อลื่น ความฝืดจะทำให้เกิดความร้อนสูงผิวโลหะจะเป็นรอยถลอก ขณะที่โลหะอ่อนๆ ที่ทำแบริ่งก็จะละลาย ลูกสูบที่ไม่ได้รับการหล่อลื่นจะขยายตัวและเสียดสีกัน กระบอกสูบจนเป็นรอย หรือถ้าหล่อลื่นน้อยไปลูกสูบจะร้อนมากจนไหม้ และเกิดไอโลหะขึ้นไปจับที่วาล์ว เมื่อมีการทำงานปกติการไหลเวียนของน้ำมันผ่านแบริ่งของเครื่องยนต์ จะเป็นการนำความร้อนออกจากแบริ่งมากพอที่จะรักษาแบริ่งให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิทำงานที่ปลอดภัย ในทำนองเดียวกัน น้ำมันหล่อลื่นก็จะนำความร้อนออกจากลูกสูบและผนังกระบอกสูบ ในขณะเดียวกันก็จะลดความฝืดของลูกสูบด้วย

ชนิดของสารหล่อลื่น

6. สารหล่อลื่นแบบเหลวและแบบแข็ง ความต้องการสารหล่อลื่นที่เหมาะสม สำหรับงานวิศวกรรมทั่วๆ ไปนั้น มีสารหล่อลื่นอยู่ 3 ชนิด คือ เป็นของเหลว ของแข็ง และพลาสติก  สารหล่อลื่นแบบเหลวมีมากที่สุด แม้ว่าแบบอื่นจะต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษที่จะทำให้มันเหมาะกับงานหล่อลื่นเฉพาะตัวสำหรับแต่ละงาน สารหล่อลื่นแบบเหลวทั่วไปส่วนใหญ่ คือ น้ำมันแร่ น้ำมันหนักและน้ำ เนื่องจากน้ำมีการกัดกร่อนสูง จึงใช้หล่อลื่นภายใต้ภาระพิเศษเท่านั้น สารหล่อลื่นแบบแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปจาระบี และกราไฟท์ คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดของสารหล่อลื่นแบบน้ำมัน

สารหล่อลื่นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ สัตว์ พืช และแร่  ชื่อที่เรียกคือ ฐานที่มาของมัน ยังมีสารหล่อลื่นที่รวมเอาฐานหลายๆ อย่างมารวมกันแล้วเรียกเป็นกลุ่มที่ 4 แบบรวม

7. น้ำมันสัตว์ เป็นน้ำมันที่ได้มาจากไขของสัตว์หรือปลา เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเคยใช้น้ำมันจากปลาวาฬและปลาโลมา โดยใช้ในส่วนละเอียดๆ เช่น หล่อลื่นเข้มและกลไกบางอย่างเช่น เกบันทึก และ Pyrometer น้ำมันสัตว์อย่างอื่นที่เคยใช้แต่หายาก ได้แก่ น้ำมันปลาวาฬ น้ำมันหมู น้ำมันไข

8. น้ำมันพืช ได้จากการจัดเมล็ดของผลไม้จำนวนมากๆ แล้วใช้กรดกัดส่วนที่เหลือปนอยู่ในน้ำมันออก น้ำมันพืชได้มาจากเมล็ด Repeseed เมล็ดฝ้าย โอลีฟ มะพร้าว และระหุ่ง เพื่อใช้านบางประเภท

9. น้ำมันแร่ น้ำมันแร่ได้รับการกลั่นจากหินน้ำมัน และจากน้ำมันดิบที่เหลือค้างจากการกลั่นเอาน้ำมันระเหยง่ายออกไปแล้วที่อณหภูมิ 572 องศาฟาเรนไฮท์ ส่วนของปิโตรเลื่ยมที่เหลืออยู่เมื่อให้ความร้อนสูงกว่า 572 F คือ น้ำมันหล่อลื่น  น้ำมันเหล่านี้จะแบ่งระดัลตามความถ่วงจำเพาะ ความหนืด และจุดวาบไฟ หรือจุดเผาไหม้ สีของน้ำมันหล่อลื่นจากแร่ไม่ใช้เป็นตัวบอกถึงคุณค่าของความเป็นสารหล่อลื่นเสมอไป สีเป็นเพียงตัวบอกปริมาณการกรองและการฟอกให้สะอาดระหว่างกระบวนการกลั่น น้ำมันสีเข้มอาจจะดีกว่าน้ำมันสีอ่อน ดังนั้นในการเลือกใช้น้ำมันแร่ไม่ควรเพ่งเล็งที่สีจนเกินไปนัก

10. คุณสมบัติดของน้ำมันแร่ต่างจากน้ำมันสัตว์อย่างไร พื้นฐานของน้ำมันแร่นั้น แตกต่างจากน้ำมันพืชหรือสัตว์อยู่แล้วเมื่อให้ความร้อนกับน้ำมันแร่ มันจะสามารถกลั่นตัวได้โดยเปลี่ยนสถานะไปน้อยที่สุด ตรงกันข้ามกับน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ที่ต้องเปลี่ยนสถานะแทนที่จะเกิดการกลั่นตัว ดังนั้นเรา จึงเรียกตัวมันว่า Fixed oil (น้ำมันหนัก) เพราะมันไม่สามารถกลั่นได้โดยไม่เปลี่ยนสถานะ

น้ำมันแร่ประกอบด้วย คาร์บอนและไฮโดรเจนเป้นหลัก นั่นคือ ไฮโดรคาร์บอน  น้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์จะมีอ๊อกซิเจนรวมอยู่กับคาร์บอนและไฮโดรเจน ดังนั้นน้ำมันประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่ง คือ มีแนวโน้มที่จะรวมกับน้ำได้ง่ายกว่าน้ำมันแร่

11. นอกจากนั้นน้ำมันพืชและสัตว์ทุกชนิดจะรวมกับอ๊อกซิเจนในอากาศได้ในปริมาณหนึ่ง ความจริงข้อนี้จึงเป็นข้อเสียเปรียบของน้ำมันประเภทนี้ในแง่ของการใช้เป็นสารหล่อลื่นที่ไม่แพร่หลายนัก การค่อยๆ รวมกับอ๊อกซิเจนในอากาศ (Oxidation) ของน้ำมันประเภทนี้ในระหว่างการหล่อลื่น จะทำให้เกิดกรดที่ผิวของโลหะแล้วเกิดหลุมและรอยสึกกร่อน นอกจากนั้นการรวมกับอ๊อกซิเจนในอากาศ ยังทำให้เกิดยางเหนียวที่จะเพิ่มความต้านทานต่อการเคลื่อนที่ และอาจจะทำให้ช่องทางน้ำมันอุดตันได้ การที่ช่องทางน้ำมันอุดตันหรือเล็กลงนั้นจะทำให้แบริ่งขาดการหล่อลื่นเกิดความร้อนสูงและไหม้ไปในที่สุด

12. ข้อได้เปรียบของน้ำมันหล่อลื่นจากแร่ การที่น้ำมันจากพืชหรือสัตว์มีราคาแพงและมีแนวโน้มที่จะรวมกับอ๊อกซิเจนในอากาศได้ง่าย เมื่อเทียบกับน้ำมันแร่ ประกอบกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และการปรับปรุงกระบวนการกลั่นน้ำมันหล่อลื่นให้ดีขึ้นตลอดเวลา เป็นปัจจัยที่ทำให้เห็นได้ว่า น้ำมันแร่เป็นน้ำมันที่ได้รับการใช้งานมากขึ้น แม้ว่าความจริงแล้วน้ำมันหล่อลื่นจากพืชหรือสัตว์ อาจจะเคลือบผิวโลหะได้ดีกว่าน้ำมันแร่ แต่ตรงกันข้าม เนื่องจากว่าน้ำ่มันหล่อลื่นที่มาจากน้ำมันดิบจะมีราคาถูก ผสมกับน้ำได้ยากและไม่รวมตัวกับอ๊อกซิเจนในอากาศ ทำให้การใช้สารหล่อลื่นในระบบหมุนเวียนหรือระบบสาดกระจายของเครื่องยนต์ใหม่จึงเป็นการใช้น้ำมันหล่อลื่นจากแร่ที่มีคุณภาพสูง

13. โดยทั่วไปน้ำมันแร่เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมักแสดงเป็นความถ่วงจำเพาะ การทดสอบความเย็น จุดวาบไฟ จุดติดไฟ และความหนืด  ซึ่งบางครั้งอาจมีการทดสอบสีด้วย ข้อมูลจำเพาะเหล่านี้ระบุคุณสมบัติของน้ำมันในแง่ของการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ และผู้กลั่นใช้เพื่อรับประกันความสม่ำเสมอในการผลิตของบางยี่ห้อจากน้ำมันดิบที่กำหนด น้ำมันแร่อาจจัดเป็นน้ำมันทรงกระบอกไอน้ำ น้ำมันแบริ่ง และน้ำมันพิเศษ น้ำมันทรงกระบอกเป็นผลิตภัณฑ์ตกค้างในการกลั่นปิโตรเลียมดิบ ใช้สำหรับการหล่อลื่นกลไกวาล์วและกระบอกสูบของเครื่องยนต์ไอน้ำ น้ำมันแบริ่งถูกกลั่นจากปิโตรเลียมดิบ แต่มีการกลั่นกรองที่สูงกว่าน้ำมันทรงกระบอก บางครั้งพวกเขาก็ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ น้ำมันชนิดพิเศษเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตขึ้นเพื่อความหลากหลายในการนำไปใช้ ซึ่งมักผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การหล่อลื่นกระบอกสูบเครื่องอัดอากาศ

14. บางครั้งจะมีการใช้น้ำมันหล่อลื่นแบบผสม(Blended) การผสม(Blending) คือ การพยายามรวมปิโตรเลี่ยม 2 ชนิดเข้าด้วยกันในระหว่างการผลิตสารหล่อลื่น และต้องไม่สับสนคำว่า การรวม(Compounding) คือ การเอาน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ปนกับปิโตรเลียมชนิดหนึ่งหรือหลายๆ ชนิด เพื่อทำให้เป็นน้ำมันหล่อลื่นเกรดพิเศษ  การผสม(Blending) บางครั้งจะเป็นการคัดออกมาใหม่ เพื่อทำให้เหมาะสมกับงานบางชนิด ขณะที่สารหล่อลื่นจะต้องให้คุณสมบัติครบถ้วนทั้งความหนืด สี ผ่านการทดสอบความเย็น จุดติดไฟ หรือจุดวาบไฟ เป็นต้น  น้ำมันแบบรวม(Compound) ปกติใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นกระสูบไอน้ำโดยเฉพาะ ถ้าไอน้ำมีความชื้นรวมอยู่มาก การผสมกับน้ำจะทำให้มันจับผิวอยู่ได้ น้ำมันหล่อลื่นกระบอกสูบไอน้ำเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน จะมีน้ำมันหมูรวมอยู่ประมาณ 5% เพื่อให้รวมกับน้ำได้ แม้ว่าเมื่อใช้เครื่องไอน้ำแบบ Superheat ที่ไอน้ำอาจจะถึงจุดกลั่นตัวในระหว่างการทำงาน และความชื้นจะสูงขึ้นในช่วงนี้

ข้อเสียเปรียบของการใช้น้ำมัน Compound คือ การรวมตัวกับน้ำนี้ จะเกิดการเคลือบที่ผิวท่อคอนเดนเซอร์ ทำให้เกิดเป็นเยื่อกันความร้อน  ในกรณีที่ไอน้ำที่จะกลั่นตัวไหลกลับไปยังหม้อน้ำ ทำให้ในหม้อน้ำเกิดฟองขึ้น จึงต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเพื่อสกัดเอาน้ำมันออกจากไอน้ำคายทุกจุด

สารหล่อลื่นแบบแข็งและกึ่งแข็ง

15. การใช้จาระบี(สารหล่อลื่นกึ่งแข็งกึ่งเหลว) จะใช้งานในที่ซึ่งตามเหตุผลของการออกแบบแล้ว การใช้น้ำมันจะไม่ค่อยได้ผลหรืออาจจะพังเสียหายเลยก็ได้ ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไป จึงใช้กับแบริ่งที่รับแรงอัดสูง หมุนด้วยความเร็วต่ำ และในที่ซึ่งสร้างฟิล์มน้ำมันเคลือบผิวได้ยาก เช่น แบริ่งเม็ดกลม

16. นิยามของจาระบี จาระบี คือ น้ำมันแร่ที่เหนียวข้น แล้วเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเปลี่ยนสภาพได้ จาระบีเป็นสารหล่อลื่นประเภทกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็นการรวมตัวกันอย่างสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างน้ำมันหล่อลื่นจากแร่และสบู่ สบู่นั้นทำมาจาก การทำน้ำมันพืชหรือสัตว์ให้เป็นสบู่ด้วยโซดา  โปแต้สหรือหินปูน  น้ำมันสัตว์จะเป็นน้ำมันจากม้า ไขวัว ไขแกะ น้ำมันหมู น้ำมันไขที่ไม่กรดอื่นๆ ส่วนน้ำมันจากพืชมาจาก น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันถั่วลิสง ซึ่งใช้มากที่สุด

17. คุณสมบัติของจาระบี ความหนา(Thickness) ของจาระบี เป็นผลมาจากอัตราส่วนของของเหลวกับสบู่แข็งที่รวมกันจนเหนียวข้นแล้ว คุณสมบัติการหล่อลื่นของจาระบี แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของน้ำมันหล่อลื่น ที่เป็นส่วนผสมนั้นมากแค่ไหน และปกติจะไม่ได้ลดความฝืดในแบริ่งลงจนกว่าอุณหภูมิของแบริ่งจะสูงพอที่จะละลายสบู่ แล้วปล่อยน้ำมันออกจากจาระบี ดังนั้นสบู่จะเติมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าต้องการคุณสมบัติในการหล่อลื่นของจาระบีมากกว่า

ในเมื่อจาระบีจะต้องละลายก่อนจึงจะได้สารหล่อลื่น เราจึงต้องเลือกจาระบีที่ละลายได้ที่อุณหภูมิต่ำจึงจะรักษาลูกปืน จากความเสียหายได้ อุณหภูมิที่จาระบีจะละลาย ขึ้นอยู่กับจำนวนสบู่และชนิดของสบู่ที่ผสมในจาระบี จุดวาบไฟและจุดติดไฟของจาระบี ปกติก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่เป็นน้ำมัน เช่นเดียวกัน

18. ทั้งจาระบีและน้ำมันที่ผสมด้วยตะกั่วขาวใช้มากที่สุด ในส่วนที่อุณหภูมิรอบๆ ลูกปืนสูงมากหรือต่ำมาก เมื่ออากาศรอบๆ มีอุณหภูมิสูง จาระบีที่เหมาะสม จะต้องมีจุดละลายตัวสูงกว่าอากาศเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกปืนร้อนเกิดขึ้นก่อนที่จาระบีจะเริ่มละลาย ในทางตรงข้าม ถ้าใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว มันควรจะเริ่มติดไฟที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิอากาศไม่ต่ำหว่า 100 องศา ถ้าลูกปืนอยู่ในที่เย็นจัด จะต้องใช้จาระบีหรือน้ำมันที่ไม่แข็งตัวที่อุณหภูมินั้น บางครั้งจะมีการผสมของแข็ง เช่น กราไฟท์หรือหินสบู่เข้ากับจาระบีเพื่อทำให้เหนียวขึ้น การไฟท์ยังเพิ่มการหล่อลื่นของจาระบีหรือน้ำมันได้ด้วย แต่ก็ไม่ใช้มากจนเกิดเป็นโคลนหรืออุดตันลูกปืน กราไฟท์จะทำให้ผิวลูกปืนเรียบลื่น โดยการอุดผิวที่เป็นหลุม ลดได้ทั้งความฝืดและการสึกหรอ ตัวเติมอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตของจาระบี บางครั้งจะเป็นยางสน แร่แป้ง ขี้ผึ้ง ผงไมก้า กำมะถัน ดินเหนียวและแอบเบสตอส

19. ชนิดของจาระบี จาระบีเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน นอ่กจากจาระบีชนิดพิเศษแล้วแบ่งออกได้หลายชนิด คือ Cup grease fiber, หรือ Sponge grease, Cold set rosin หรือจาระบีเพลา จาระบีเครื่องของรถไฟ และจาระบี Double composition จาระบีแบบ Cup และ Sponge เป็นจาระบีที่รู้กันในชื่อว่า Hot set grease

 

 

related posts

YOU MIGHT ALSO LIKE

สารหล่อลื่นสังเคราะห์สเปรย์ อีซี่บาร์

Easy Bar Synthetic Spray Lube

learn more

จาระบีสังเคราะห์ฟู้ดเกรด PAO
ทนร้อนทนเย็น เบอร์ 2 H1

Molygraph Safol FGG Fluid Grease no.2

  • จาระบีเนื้อสีขาว
  • อุณหภูมิการใช้งานที่ -30 ถึง 180 °C
  • หล่อลื่นได้ดี ทนต่ออุณหภูมิน้ำที่ร้อนและเย็น
  • ต้านทานการชะล้างและการเกิดสนิม
learn more

น้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์
ฟู้ดเกรดสำหรับโซ่เตาอบ

Molygraph Safol Chain Oil 220

  • สีเหลืองใส
  • ให้การหล่อลื่นครอบคลุมแม้ในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก
  • ปกป้องผิวสัมผัสจากการเสียดสี ลาก ดึง ในภาวะการทำงานอุณหภูมิสูง
learn more

จาระบีฟู้ดเกรด
รับภาระงานหนัก ทนร้อน

Clarion Food Machinery HT EP Grease No.2

  • จาระบีฟู้ดเกรดเนื้อสีขาว
  • อุณหภูมิการใช้งานที่ -12 ถึง 163 °C
  • รองรับการใช้งานหนัก แรงกดสูง ความเร็วรอบต่ำ - ปานกลาง
  • เหมาะสำหรับการหล่อลื่นแบบกึ่งสมบูรณ์ (Boundary Lubrication)
  • ต้านทานการชะล้าง และการเกิดสนิม
  • หล่อลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาวะการทำงานที่เปียกชื้น และความร้อนจากไอน้ำเดือด
learn more

น้ำมันไฮดรอลิคทนไฟ ฟู้ดเกรด
(Fire Resistance Fluid)

Clarion Food Grade FR Fluid No.46

  • ถ่ายเทความร้อนดีเยี่ยม
  • ควบคุมอุณหภูมิภายในระบบไฮดรอลิคให้คงอยู่ระดับต่ำ
  • สามารถ ดับไฟ ได้เมื่อเกิดการรั่วของระบบไฮดรอลิค
  • มีดัชนีความหนืดสูง จุดไหลเทต่ำ
learn more

น้ำมันไวท์มิเนอรอล ออยล์ ฟู้ดเกรด Fomi 100

Michang Food Grade White Mineral Oil Fomi 100

  • สีใส ไร้กลิ่น และรสชาติ
  • จุดไหลเทต่ำ
  • เมื่อแห้งจะเป็นฟิล์มใส
learn more