กฎระเบียบสหรัฐอเมริกา: วัตถุเจือปนอาหาร
Title 21 – Food And Drugs Administration
ปัจจุบันมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารกันมาก เนื่องจากมีการผลิตอาหารพร้อมปรุง อาหารแปรรูปมากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US. Food and Drug Administration: FDA) ให้ความหมายของ วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives)
คือ สารใดก็ตามที่นำมาใช้เพื่อให้ผลทางเทคนิคกับอาหาร
ซึ่งการใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มกลิ่นรส ความน่ารับประทาน ช่วยในขั้นตอนการเตรียมและแปรรูป ช่วยรักษาความสด ในขณะที่ผู้บริโภคและนักวิทยาศาสตร์ก็เกิดความข้องใจเกี่ยวกับความจำเป็นและความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารเหล่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประเมินความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารด้วยวิธีการที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวคือ FDA แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ จะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง FDA กับหน่วยความปลอดภัยของอาหารและบริการการตรวจสอบ (The Food Safety and Inspection Service, FSIS) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตร (US. Department of Agriculture: USDA)
กฎระเบียบเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 และในปี ค.ศ. 1906 รัฐบาลกลางประกาศใช้บทบัญญัติอาหารและยาแห่งรัฐบาลกลาง (The 1906 Federal Food and Drug Act) โดยบทบัญญัติดังกล่าวนี้ได้วางกรอบของกฎระเบียบเกี่ยวกับอาหาร และได้ระบุให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและยาที่มีการปิดฉลากไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือมีการปลอมปนในการค้าขายระหว่างรัฐและระหว่างประเทศเป็นสิ่งผิดกฏหมาย พร้อมทั้งได้จัดทำรายการสารเคมีผิดกฎหมายหากนำมาใช้กับอาหาร อาทิ บอแรกซ์ หรือฟอร์มัลดิไฮด์ แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการบังคับใช้และไม่มีการกำหนดบทลงโทษกรณีกระทำผิดจึงทำให้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ ต่อมาในปี ค.ศ. 1938 จึงได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติอาหารและยาแห่งรัฐบาลกลาง เพื่อให้ทันต่อวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยีทางอาหาร และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บทบัญญัติอาหารยาและเครื่องสำอาง แห่งรัฐบาลกลาง (The Federal Food, Drug and Cosmetic Act) ซึ่งได้กำหนดให้ระบุการใช้วัตถุเจือปนอาหารบนฉลากตามความเป็นจริง
ในปี ค.ศ. 1958 นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการกำหนดกฎระเบียบเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหารในบทบัญญัติอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ซึ่งกำหนดให้การจำหน่ายวัตถุเจือปนอาหารชนิดใหม่ต้องได้รับการอนุญาต โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของการใช้วัตถุเจือปนอาหารนั้น ก่อนการใช้หรือการจำหน่ายสารใด ๆ เพื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ทางบริษัทผู้ผลิตต้องจัดทำคำร้องส่งให้ FDA โดยแสดงให้เห็นถึงวิธีการทดสอบที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สารนั้นๆ มีความปลอดภัยในสภาพการใช้งาน หากได้รับการรับรองว่าปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานจริงแล้ว FDA จะกำหนดกฎระเบียบระบุชนิดของอาหารที่อาจใช้วัตถุเจือปนอาหารชนิดนั้นได้ รวมทั้งวิธีการใช้ การอนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดย FDA จะตรวจสอบข้อมูลความรู้ใหม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจาณาถึงความจำเป็นที่อาจจะต้องปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกการอนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารนั้น ๆ เป็นกรณีไป
ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามประเภทการใช้เรียงตาม Part ต่าง ๆ ใน CFR Title 21 ดังต่อไปนี้
1. Color additives (21 CFR Parts 70, 71, 73, 74, 80, & 82) กลุ่มสีที่ใช้กับอาหาร
2. Food additives (21 CFR Parts 170-178, 182) กลุ่มที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารนอกจากสี
21 CFR 170 กล่าวถึงขอบเขต
21 CFR 171 กล่าวถึงข้อกำหนด
21 CFR 172 วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้โดยตรงกับอาหาร (Direct Additives) สามารถแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- กลุ่มที่ 1. สารกันเสีย (21, Part 172.105-190)
- กลุ่มที่ 2. สารเคลือบผิว ฟิล์ม และสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (21, Part 172.210-280)
- กลุ่มที่ 3. สารอาหารเฉพาะและสารเสริมทางโภชนาการ (21, Part 172.310-399)
- กลุ่มที่ 4. สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (21, Part 172.410-490)
- กลุ่มที่ 5. สารเติมแต่งรสและสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (21, Part 172.510-590)
- กลุ่มที่ 6. กัม กัมเบส และสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (21, Part 172.610-695)
- กลุ่มที่ 7. วัตถุเจือปนอาหารอื่น ๆ ที่ใช้เฉพาะ (21, Part 172.710-785)
- กลุ่มที่ 8. วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ (21, Part 172.800-898)
น้ำมันไวท์มิเนอรัลออยล์จะอยู่ในกลุ่มที่ 8 หัวข้อที่
CFR 172.878 – White Mineral Oil (USP grade)
2.2 Secondary direct food additives permitted in food for human consumption: (21 CFR 173) เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้โดยอ้อมในอาหาร ซึ่งหมายถึงกลุ่มสารที่ใช้สำหรับภาชนะบรรจุอาหาร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
2.3 Indirect additive: (21 CFR 174) วัตถุเจือปนอาหารที่ไม่ใช้โดยตรงกับอาหาร ได้ระบุข้อกำหนดทั่วไปในการใช้ไว้ ที่อาจนำไปใช้กับภาชนะบรรจุ ใช้ในขั้นตอนการเก็บรักษา หรือในขั้นตอนการเตรียม (Indirect Additives used in Food Contact Substances) แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- กลุ่มที่ 1. Adhesive and Coating (21 CFR 175)
- กลุ่มที่ 2. Paper and paperboard (21 CFR 176)
- กลุ่มที่ 3. Polymer (21 CFR 177)
- กลุ่มที่ 4. Adjuvants, production aids, sanitizers (21 CFR 178)
สารหล่อลื่นต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันมิเนอรัลจะรวมอยู่ในกลุ่มที่ 4 หัวข้อที่
CFR 178.3570 – Lubricants
CRF 178.3620 – Mineral Oil (a) & (b)
2.4 Substances that are generally recognized as safe: GRAS (21 CFR 182) วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากประเมินแล้วว่าสามารถใช้อาหารได้ แบ่งเป็น
กลุ่มที่ 1. GRAS ทั่วไป แบ่งเป็น
(1) Spices and other natural seasonings and flavorings (21 CFR 182.10) กลุ่ม เครื่องเทศและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสตามธรรมชาติ
(2) Essential oils, oleoresins (solvent-free), and natural extractives (including distillates) (21 CFR 182.20) กลุ่มน้ำมันที่จำเป็น โอรีโอเรซิน และสารสกัดธรรมชาติ
related posts
พื้นฐานการหล่อลื่น Lubrication Basic
MOSH และ MOAH คืออะไรในสารหล่อลื่นฟู้ดเกรด
หากไม่ใช้สารหล่อลื่นในอุตสาหกรรม จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
น้ำมันพื้นฐาน หรือ Base oil มี ทั้งหมดกี่ประเภท
YOU MIGHT ALSO LIKE
น้ำมันไฮดรอลิค ฟู้ดเกรด (Mineral Oil)
Clarion Food Machinery A/W No. 32 / 46 / 68 / 100
- สีใส ไร้กลิ่น และรสชาติ
- ปกป้องผิวสัมผัสจากการเสียดสี
- แยกตัวจากน้ำได้ดี
- ให้การหล่อลื่นที่ยาวนาน 8,000 ชม.
น้ำมันอเนกประสงค์สังเคราะห์
Royal Purple Thermyl-Tuff 300
- รองรับอุณหภูมิสูง
- รองรับภาระงานหนัก รอบต่ำ
- ป้องกันการเกิดสนิม และการสึกกร่อน
จาระบีเกรดพรีเมียม อลูมิเนียมคอมเพล็กซ์ อเนกประสงค์
รับแรงกดสูง
LE: Almaplex® Industrial Lubricant 1275
- จาระบีอุตสาหกรรมสีส้ม #NLGI 2
- Dropping Point ที่อุณหภูมิ 232 °C
- ทนต่อแรงชะน้ำได้ดี
- รับแรงกดสูง
จาระบีซิลิโคนฟู้ดเกรด
Clearco Silicone Grease 3005 cSt NSF H1
- สีใสขุ่น ไร้กลิ่น
- อุณหภูมิการใช้งานที่ -57 ถึง 200 °C
- ต้านทานน้ำชะ ทนต่อไอน้ำเดือด
น้ำมันหล่อลื่นเกียร์ ฟู้ดเกรด
Clarion Food Machinery Gear Oils No. 150 / 220 / 460
- รองรับอุณหภูมิสูง ภาระงานหนักได้ดี
- ปกป้องผิวโลหะ จากแรงกระแทก
- ป้องกันการสึกกร่อนในชุดฟันเฟือง
- ให้การหล่อลื่นที่ยาวนาน 6,000 ชม.
น้ำมันถ่ายเทความร้อนฟู้ดเกรด
Paratherm HE
- สีใส
- อุณหภูมิการใช้งานที่ 66 ถึง 316 °C
- ความเสถียรของน้ำมันดีเยี่ยม ลดปัญหาคราบเขม่า และคราบยางเหนียว